6.6
การใช้อินเทอร์เน็ตเสริมสร้างการเรียนรู้ด้านดิจิทัล
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology หรือ ICT) คือ การผสานเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ากับระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่ครอบคลุมระบบสื่อสาร ได้แก่วิทยุ โทรทัศน์ โทรสาร โทรศัพท์ เครื่องมือการสื่อสารอื่นๆ กับระบบคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล และบริการสารสนเทศ ตลอดจนระบบเครือข่ายโทรคมนาคมจำนวนมากที่เชื่อมโยงติดต่อกันและใช้ร่วมกันได้ “เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา” คือ การนำความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเรียนรู้ของมนุษย์ โดยการนำระบบเครื่องมือสื่อสารต่างๆ เช่น ระบบโทรศัพท์ ระบบโทรทัศน์ เข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ที่ตอบโต้กับผู้ใช้ ประกอบกับการใช้แหล่งความรู้ที่หลากหลายจะทำให้ผู้ใช้สามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ ตามความสนใจ นอกจากนี้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารยังมีศักยภาพในการลดข้อจำกัดด้านเวลาและระยะทาง ส่งผลให้การเปลี่ยนแปลงเรียนรู้ข้อมูลข่าวสารเกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตวิธีการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการเรียนรู้ อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่าย ICT ที่เชื่อมโยงแผ่ขยายครอบคลุมทั่วโลก เป็นทั้งสิ่งแวดล้อมและเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพเป็นพลโลก การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนการสอน กระทำได้สองลักษณะดังนี้ แนวทางการประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตในด้านนักเรียน นักเรียนสามารถใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษาค้นคว้าวิจัยการเข้าร่วมกิจกรรมเชิงปฏิสัมพันธ์ การเข้าร่วมโครงงานบนเว็บ หรือสร้างสรรค์ผลงานเผยแพร่1) การศึกษาค้นคว้า นักเรียนจะสามารถใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการสืบค้น ศึกษาวิจัยและจัดทำรายงานเว็บไซต์ที่เป็นแหล่งทรัพยากร เพื่อการค้นคว้ามีมากมายซึ่งอาจจัดประเภทง่ายๆ ดังนี้● ห้องสมุดและแหล่งอ้างอิงทางการศึกษา● แหล่งทัศนศึกษาทางอิเล็กทรอนิกส์● เอกสารตำราเรียน● ข้อมูลพื้นฐานและเหตุการณ์ปัจจุบัน● การติดต่อผู้รู้และผู้เชี่ยวชาญ มีแหล่งข้อมูลที่ให้บริการตอบคำถาม2) กิจกรรมเชิงปฏิสัมพันธ์ (Interactive Activities)
มีเว็บไซต์จำนวนมากที่เปิดให้มีกิจกรรมแบบโต้ตอบได้ระหว่างเว็บไซต์กับผู้ใช้ เช่น โปรแกรมสนทนาเกมออนไลน์ ที่สำคัญและเป็นประโยชน์กับผู้เรียนอาจจำแนกเว็บไซต์จำพวกนี้ได้ดังนี้● สถานการณ์จำลอง (Simulations) เป็นเว็บไซต์ที่นำเสนอข้อมูลแบบมัลติมีเดีย มีการเคลื่อนไหวทั้งภาพและเสียง และผู้เรียนสามารถตอบโต้ได้ เช่น ห้องทดลองเสมือนจริงในวิชาต่างๆ (Virtual Lab)
● บทเรียนและแบบทดสอบ เป็นเว็บไซต์ประเภทบทเรียนหรือแบบฝึกออนไลน์ ซึ่งมีหลายสาขาวิชา รวมทั้งแบบทดสอบ ออนไลน์ที่มีทั้งการวัดผลสัมฤทธิ์ วัดความรู้ความสามารถวัดบุคลิกภาพและสติปัญญานิทรรศการบนเว็บ3) โครงงานบนเว็บ (Web-Based Project)
ได้มีการจัดทำโครงงานในชั้นเรียนทั้งระยะสั้นและระยะยาวเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต ซึ่งนักเรียนจะเข้าไปมีส่วนร่วมได้จำนวนมาก และสามารถผนวกหรือจัดเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ตามหลักสูตรเกี่ยวกับแหล่งรวบรวมโครงงานที่สำคัญ4) การสร้างสรรค์งาน นักเรียนที่เป็นรายบุคคล เป็นกลุ่ม หรือครูที่ดำเนินการร่วมกับนักเรียนสามารถสร้างหรือจัดทำเนื้อหาสาระเป็นเว็บไซต์เผยแพร่แก่สาธารณชนได้มีเว็บไซต์ลักษณะนี้หลายประเภท ได้แก่● วารสาร หนังสือพิมพ์ของนักเรียน● ผลงาน นิทรรศการด้านศิลปะ และวรรณกรรม● ผลงานการศึกษาค้นคว้าเรื่องต่างๆ● การท่องเที่ยวเสมือนจริง (Virtual Tours)
● การสะสม (Collections)
● การสร้างโฮมเพจ● การจัดทำ web log
ฯลฯ
แนวทางการประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตในด้านของครู ครูสามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้หลายวิธี เช่นเดียวกับที่นักเรียนใช้ นอกจากนี้ยังใช้เพื่อติดต่อสื่อสารกับเพื่อนครูและผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลก การค้นหาแหล่งสื่อวัสดุ อุปกรณ์ แผนการสอนในวิชาที่ตนรับผิดชอบรวมถึงการจัดทำ จัดสร้าง สื่อนวัตกรรม กิจกรรมการเรียนรู้สำหรับนักเรียนและเผยแพร่แก่ครูหรือบุคคลทั่วไป1) การติดต่อสื่อสาร ครูสามารถใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อการติดต่อสื่อสารกับกลุ่มครูหรือผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาการที่เกี่ยวกับงานในหน้าที่หรือตามความสนใจ โดยใช้ E-mail หรือ List serve ตลอดจนสมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์กรวิชาชีพ หรือกลุ่มสนใจใช้อินเทอร์เน็ต ซึ่งมีให้บริการหลายเว็บไซต์ เช่นGlobalSchool house, 21th Century Teachers.Net
2) การค้นคว้าวิจัย ครูสามารถใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือ สืบค้น ค้นคว้า วิจัย เพื่อการเตรียมการสอน การจัดหาสื่อนวัตกรรมการเรียนการสอน โดยทั่วไปเว็บไซต์ลักษณะนี้อาจจำแนกประเภทได้เป็น● แผนการสอน● สารสนเทศและข้อมูลความรู้สำหรับชั้นเรียน● แนวคิดและเทคนิคการจัดการเรียนการสอน● เว็บไซต์ทางการศึกษา● เว็บไซต์เฉพาะวิชา● เว็บไซต์อ้างอิงและห้องสมุด● แหล่งทรัพยากรทางการศึกษา● เว็บไซต์รวมผลงานวิจัย3) การสร้างงาน ครูสามารถใช้อินเทอร์เน็ตสร้างเว็บไซต์เพื่อการจัดการเรียนการสอนของตนเอง นอกจากนี้ครูยังใช้ประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เผยแพร่ผลงานแนวคิดกับเพื่อนร่วมวิชาชีพและผู้สนใจทั่วไป เช่น การใช้โปรแกรมการสื่อสาร การใช้ Blogเป็นต้น อินเทอร์เน็ตได้ก่อให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาทางไกล ในด้านสถาบันการศึกษาดิจิทัล (Digital Academy) โดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ทำให้ระยะทางไม่มีความสำคัญ นวัตกรรมดังกล่าวจึงนิยมเรียกกันว่า “E-learning” (การเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์) หรือ“E-school” (โรงเรียนอิเล็กทรอนิกส์) เป็นรูปแบบการศึกษาที่เป็น “โรงเรียนเสมือนจริง” (Virtual School) ที่ครู ผู้เรียนสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้และโต้ตอบกันได้ (Interactivity) มีรูปแบบโดยทั่วไป คือ1. การสมัครและลงทะเบียนเข้าเรียน2. การเรียกค้น ดาวน์โหลด หลักสูตร เนื้อหาสาระทางวิชาการ สื่อการเรียนการสอน ทั้งที่เป็นตำราและมัลติมีเดีย3. การใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อส่งสื่อเอกสารที่ใช้ประกอบการเรียนการสอน การส่งงานรายงาน การบ้าน ตลอดจนการซักถามระหว่างผู้เรียนและผู้สอนและระหว่างผู้เรียนด้วยกัน4. การใช้ป้ายประกาศ (Web Board/Bulletin Board) เพื่อถาม-ตอบ หรือแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนข้อมูลตามประเด็นที่สนใจศึกษา5. การค้นคว้า วิจัยจากคลังข้อมูล (Archives)และห้องสมุดดิจิทัล6. การติวความรู้แบบตอบโต้ผ่านเว็บ (Interactive Tutorials on the Web)
7. การสอนหรือฝึกอบรมผ่านเว็บไซต์บนเครือข่าย (E-trainning)
8. การศึกษาทดลองในรูปแบบสถานการณ์จำลอง (Simulation) และห้องทดลองดิจิทัล (Digital
Laboratory)9. การประชุมสนทนาทางไกล10. การทดสอบวัดประเมินผล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น