6.13

 การเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน


การจัดการเรียนรู้โดยใช้ ICT เป็นฐาน
          การเรียนการสอนโดยยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง โดยใช้ ICT เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ของผู้เรียน นับเป็นสิ่งที่จำเป็นในโลกยุคดิจิตอล อันที่ผู้เรียนจะต้องใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ และการประกอบอาชีพในอนาคตข้างหน้า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ครูต้องจัดประสบการณ์เพื่อให้เด็กสามารถนำ ICT มาใช้ในการค้นหาความรู้ตลอดจนสามารถสร้างสรรค์งาน และเกิดเป็นความรู้ที่คงทน ซึ่งครูจะต้องใช้ความพยายาม ความอดทนในการที่จะให้การจัดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ ที่วางไว้ในฐานะที่เป็นครูสอนคอมพิวเตอร์ ซึ่งไม่พ้นที่จะต้องสอนพื้นฐานการใช้งานการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อให้นักเรียนสามารถสร้างสรรค์งาน และใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต ที่มีอยู่หลากหลาย ตลอดจนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครูผู้สอนกับนักเรียน นักเรียนกับนักเรียนการจัดการเรียนการสอนโดยบูรณาการระหว่างวิชาเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่น่าสนใจ โดยเฉพาะการเรียนรู้แบบโครงงาน นักเรียนได้ประสบการณ์ตรงจากการปฏิบัติและลงมือทำ และอาศัยกระบวนการกลุ่มในการทำงาน กระบวนการทำงานกลุ่ม การจัดการเรียนรู้ต้องมีความมั่นใจในตัวของนักเรียนว่า นักเรียนปฏิบัติได้และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้โดยใช้กลวิธีในการสอนที่หลากหลาย ผู้เรียนสามารถที่สามารถใช้ ICT เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ และเกิดเป็นความรู้ที่คงทน
แนวคิดการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ ICT
ปัญหาการจัดการเรียนการสอนในอดีตที่ผ่านมาและมักกล่าวถึงอยู่จนทุกวันนี้ คือ
– ครูไม่เปลี่ยนพฤติกรรมการสอน– ขาดครูเฉพาะวิชา– ขาดสื่อ อุปกรณ์การสอนที่มาของโรงเรียนในฝันคือการปฏิรูปการเรียนการสอนที่ต้องใช้ ICT เข้าช่วยโดยเฉพาะเข้าช่วย ในเรื่องปรับพฤติกรรมการสอนและแก้ปัญหาการขาดสื่อการเรียนการสอนสำหรับปัญหาการขาดครูเฉพาะวิชานั้น เป็นปัญหาระดับชาติที่ต้องรอรัฐบาลที่มองเห็นพิษภัยต่อการจัดการศึกษาที่เนื่องมาจากการขาดครูเฉพาะวิชา และใช้สติปัญญาของผู้รับผิดชอบโรงเรียนในฝัน ที่จะหาช่องทางให้ครูเฉพาะวิชาที่มีอยู่ในโรงเรียนอยู่แล้วเป็นครูของเขตพื้นที่ของจังหวัด ของเขตตรวจราชการและของประเทศที่มีความรู้ความสามารถในการใช้ ICT เพื่อการเรียนการสอนอย่างครูมืออาชีพ และฝ่ายบริหารของโรงเรียนสามารถสนับสนุนส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่ใช้ ICT ได้อย่างมืออาชีพการเข้าถึงการใช้ ICT เพื่อการเรียนการสอนของโรงเรียนมี 4 ระยะ (Approach)ได้แก่ สัมผัส (Emerging) ประยุกต์ใช้ (Applying) แพร่ขยาย (Infusing) เปลี่ยนร่างแปลงรูป (Transforming)         1. ระยะสัมผัส ได้แก่ การเริ่มต้นการนำ ICT เข้าใช้ ด้วยการซื้อหา รับบริจาค ทั้งตัวคอมพิวเตอร์และซอล์ฟแวร์ ในขั้นนี้ ทั้งผู้บริหารและครูเริ่มต้นค้นหาความเป็นไปได้ในการใช้ ICTในการบริหาร และการใช้หลักสูตร          2. ระยะประยุกต์ โรงเรียนใดที่มีความประทับใจใน ICT ก็ถือว่าได้เริ่มต้นเข้าสู่วิธีนี้ ครูใช้ ICT ในการทำงานประจำวัน ครูปรับหลักสูตร เพื่อเพิ่มการใช้ ICT ในการสอนการเรียนในแต่ละรายวิชา แต่ครูยังคงเป็นผู้มีอำนาจ (dominate) ในกระบวนการเรียน          3. ระยะแพร่ขยาย มีการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ในห้องทดลอง ห้องเรียน ครูค้นหาวิธีใหม่ที่จะใช้ ICT เพื่อการเปลี่ยนแปลงผลผลิตของตนให้มีคุณภาพ และแสดงออกถึงความเป็นมืออาชีพยิ่งขึ้นหลักสูตรเริ่มบูรณาการ เพื่อให้เกิดการนำไปใช้ในโลกของความเป็นจริง          4. ระยะเปลี่ยนร่างแปลงรูป ในระยะนี้ ICT ถูกบูรณาการเข้าไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างมืออาชีพ ช่วยเพิ่มผลผลิตส่วนบุคคล หลักสูตรจึงเป็นหลักสูตรที่ใช้นักเรียนเป็นศูนย์กลาง (ChildCentered) มีการบูรณาการเรียนการสอนที่นำไปสู่การประยุกต์ใช้จริง
การจัดการศึกษาในปัจจุบัน
ในชีวิตจริงมีการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากการอยากเรียนอยากรู้ด้วยตนเองในสิ่งที่ตนเองอยากรู้อยากเรียนมากมายจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ทั้งจากหนังสือเอกสาร ตำรา บุคคล สถานที่ หากรู้ความต้องการที่แท้จริงของนักเรียนทั้งความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาสาระตามหลักสูตรโดยตรง หรือมีส่วนเกี่ยวข้อง แล้วจัดหนังสือ ตำรา หรือแหล่งเรียนรู้ ทั้งที่เป็นสถานที่ บุคคล ตลอดจนระบบอินเตอร์เน็ตไว้พร้อมบริการได้เสมอ ก็จะช่วยให้ นักเรียนเรียนรู้ได้โดยไม่ต้อง หรือ สอนแบบพบปะ กันในห้องเรียนน้อยลง
1) ครูเป็นผู้นำส่งข้อมูลใหม่ๆ กระตุ้นให้นักเรียนทำงาน เรียนรู้จากแหล่ง เรียนรู้ ที่กำหนดไว้
2) การให้ความรู้ที่นักเรียนต้องการจะช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนเรียนรู้ให้เกิดการคิดได้ดี
กว่าการให้ความรู้ในสิ่งที่ครูต้องการ
3) นักเรียนเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้ฟัง เป็นผู้ลงมือปฏิบัติเพื่อให้เกิด การเรียนรู้ด้วยตนเอง
4) การใช้เวลาในการทำงาน หรืออ่าน ในสิ่งที่สนใจ จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ดีกว่าการฟังครูพูด
เรียนรู้โดยใช้งานเป็นฐาน คือ การนำงานมาเป็นศูนย์กลาง หรือเป็นหลักในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แนวคิดนี้ได้รับการพัฒนาโดย N Prabhu จากประเทศอินเดีย ที่เกิดขึ้นจากแนวความคิดที่ว่านักเรียนจะเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพหากจิตใจแน่วแน่อยู่ที่งานที่ทำ มากกว่าที่จะแน่วแน่อยู่ที่ภาษาที่ใช้แบบแผนการใช้งานเป็นฐานนี้ Jane Willis ได้ให้หลักการ PPP ซึ่งหมายถึง presentation, practice,production ที่นักเรียนจะเริ่มต้นด้วยการทำงาน เมื่อทำเสร็จแล้ว ครูจะชักนำสู่การแก้ไข ปรับแต่งในสิ่งที่นักเรียนแสดงออกมา Jane Willis ได้เสนอกรอบแนวคิดเชิงกระบวนการไว้ 3 ประการ ได้แก่
• นำเข้าสู่บทเรียนโดยหัวข้อเนื้อหาสาระ และงานที่จะมอบหมายให้ทำ
• วางแผน ทำงาน และรายงานผล
• เน้นย้ำที่การใช้ภาษา วิเคราะห์ และฝึกปฏิบัติ (Analysis and practice)
เนื่องจากเว็บไซต์ เป็นอภิมหาอาณาจักร สำหรับการเรียนรู้ทั้งปวง ที่จะเลือกเนื้อหาสาระทางปัญญา ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่แต่ละคนรัก ชอบที่จะคิด จะทำ มาใช้ในการคิดการทำให้ดีขึ้นการใช้เว็บไซต์ให้เป็นประโยชน์ในชีวิตจริงจนกลายเป็นแบบอย่างในระดับโรงเรียน หรือชุมชน ก็จะมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของนักเรียน อย่างไร ก็ดี ก็อาจจะมีข้อจำกัดในเรื่องการใช้ภาษาอังกฤษแต่สำหรับบางคนจะไม่มีข้อจำกัดเลยสำหรับ หากมีพื้นฐานทางภาษาอังกฤษอยู่บ้าง และอยากคิดอยากทำในสิ่งที่ตนเองรัก ชอบ ให้ดีขึ้น
6.1 รูปแบบที่ใช้ในการค้นคว้าของ ICT
เป็นการกำหนดแหล่งความรู้ภายนอกที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนโดยกำหนดด้วยสิ่งนำทางการค้นคว้า เช่น แหล่งความรู้ภายนอกที่กำหนดอย่างเป็นลำดับ กล่าวคือมีการศึกษาก่อนหลัง มีความยากง่ายเป็นลำดับมีการจัดเรียน หัวข้อตามลำดับ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนไม่หลงทาง และเรียนรู้ไปตามลำดับขั้นตอน
• เวิล์ดไวด์เว็บ (World Wide Web) ใช้สำหรับเป็นแหล่งความรู้ฐาน และเป็นแหล่งความรู้ภายนอกเพื่อการสืบค้น
• อีเมล์ (E-mail) ใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างอาจารย์หรือเพื่อนร่วมชั้นเรียนด้วยกันใช้ส่วนการบ้านหรืองานที่ได้รับมอบหมาย
• กระดานข่าว (web board) ใช้ติดต่อสื่อสารระหว่าง ผู้เรียน อาจารย์ และผู้เรียนเป็นกลุ่ม ใช้กำหนดประเด็นหรือกระทู้ตามที่อาจารย์กำหนด หรือตามแต่นักเรียนกำหนด เพื่อช่วยกันอภิปรายตอบคำถามในประเด็นที่เป็นกระทู้นั้น ๆ
• แชท (Chat) ใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างผู้เรียน อาจารย์และผู้เรียน โดยการสนทนาแบบเวลาจริง
(Real time)โดยมีทั้งสนทนาด้วยตัวอักษรและสนทนาทางเสียง (Voice Chat) ลักษณะใช้คือใช้สนทนาระหว่างผู้เรียนและอาจารย์ ใน ห้องเรียนหรือชั่วโมงเรียนเสมือนว่ากำลังเรียนอยู่ในห้องเรียนจริงๆ
• ไอซีคิว (ICQ) ใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างผู้เรียน อาจารย์และผู้เรียนโดยการสนทนาแบบเวลาจริง หรือหลังจากนั้นแล้วโดยเก็บข้อความ ไว้ การสนทนาระหว่างผู้เรียนและอาจารย์ในห้องเรียนเสมือน ว่ากำลังคุยกันในห้องเรียนจริงๆ และ บางครั้งผู้เรียนก็ไม่จำเป็นต้องอยู่ในเวลานั้นๆ ไอซีคิวจะเก็บข้อความไว้ให้และ
ยังทราบด้วยว่าในขณะนั้นผู้เรียนอยู่หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์หรือไม่
• การบ้านอิเล็กทรอนิกส์ ใช้สำหรับติดต่อสื่อสารระหว่างผู้เรียน อาจารย์เป็นเสมือนสมุดประจำตัวนักเรียน โดยที่นักเรียนไม่ต้องถือสมุดการบ้านจริงๆ และใช้ส่งงานตามที่อาจารย์กำหนด เช่น ให้เรียนรายงานโดยที่อาจารย์สามารถเปิดดูการบ้านอิเล็กทรอนิกส์ของนักเรียนและเขียนบันทึกเพื่อตรวจงาน และให้คะแนนได้แต่นักเรียนจะเปิดดูไม่ได้
สรุป
การเรียนรู้ในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะห้องเรียนและครู การเรียนการสอนแบบดั้งเดิมจะ ลดน้อยลง ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอนเปลี่ยนไป เกิดเป็นกระบวนการเรียนรู้แบบใหม่ จึงมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่ทุกฝ่ายจะต้องช่วยกันพัฒนาองค์ความรู้ใหม่จากองค์ความรู้เดิมที่มีอยู่ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
การที่จะนำระบบ ICT มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนนั้น ไม่ไกลดังที่เราได้คาดหวังแต่สามารถใช้ให้เกิดเป็นรูปธรรมได้ โดยได้รับความร่วมมือในหลายๆด้าน เพื่อให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบการศึกษาในยุคปัจจุบัน ที่กำลังก้าวเข้าสู่อนาคต หรือที่เราเรียกกันว่ายุคสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT)
การจัดการเรียนรู้โดยใช้ ICT เป็นฐาน. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก https://sites.google.com/site/hxngnithessnlek/kar-sxn-doy-chi-ict-1.
การจัดการเรียนรู้โดยใช้ ICT เป็นฐาน. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://journal.oas.psu.ac.th/index.php/asj/article/viewFile/221/168.

หลักการแนวคิดกระบวนการจัดการเรียนการสอน
1. กระบวนทัศน์เก่า-ใหม่                                                                                                                   การใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ สามารถช่วยเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ในการจัดการศึกษาในปัจจุบันได้
2. การสร้างสภาพแวดล้อมที่ใช้ ICT                                                                                                 เป็นฐานการจัดการเรียนรู้ (Web Based Environment) วารสารนาๆ ชาติ CEEOL (Informatics Education – an International Journal, Issue Vol5/2006 อ้างใน http://ceeol.com) รายงานว่า รูปแบบ การสอนของครู และการเรียนรู้ของนักเรียน ที่ไม่สอดคล้องต้องกันมีผลให้นักเรียนเครียดไปจนถึงล้มเหลวในการเรียนรู้ของนักเรียน ความสมดุล ระหว่างรูปแบบการสอนของครูและการเรียนของนักเรียนจึงเป็นสิ่งสำคัญ เมื่อมีการเน้นกระบวนการเรียนรู้เป็นรายบุคคล การเรียนโดยใช้ ICTเป็นฐาน จึงเป็นโอกาสที่ดี ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนมีทางเลือกในการเรียนรู้ได้หลายทาง จากการศึกษาพบว่า นักเรียนมีหลายประเภท แต่ละประเภท เรียนรู้ และรับประการณ์ต่างๆ ต่างกัน แต่ผลการเรียนรู้ไม่ต่างกัน เพื่อตอบสนองการเรียนรู้ที่ต่างกัน จึงมีการพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับการเรียนรู้ของนักเรียน
3. การเรียนรู้ โดยไม่มีการสอน
4. หลักการสำคัญของแนวคิดนี้ คือ
5. การใช้งานเป็นฐานการเรียนรู้ (Task Based Learning)
6. รูปแบบการสอน โดยใช้ ICT
• คอนเฟอเรนซ์ (Conference) ใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างผู้เรียน อาจารย์ และผู้เรียนแบบ เวลาจริง โดยที่ผู้เรียนและอาจารย์สามารถเห็นหน้ากันได้โดยผ่านทางกล้องโทรทัศน์ที่ติดอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งสองฝ่ายใช้บรรยายให้ผู้เรียนกับที่อยู่หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์เสมือนว่ากำลังเรียนอยู่ในห้องเรียนจริงๆ
อ้างอิง
การจัดการเรียนรู้โดยใช้ ICT เป็นฐาน. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก https://www.gotoknow.org/posts/556727.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น