7.6

กระบวนการทางปัญญา โดย ประเวศ วะสี

   นักคิดคนสำคัญของประเทศไทยผู้มีบทบาทอย่างมากในการกระตุ้นให้เกิดการปฏิรูปการศึกษาขึ้นท่านได้เสนอกระบวนการทางปัญญาซึ่งควรฝึกฝนให้แก่ผู้เรียนประกอบด้วยขั้นตอน 10 ขั้นดังนี้
        3. 1 ฝึกสังเกตให้ผู้เรียนมีโอกาสสังเกตสิ่งต่างๆให้มากให้รู้จักสังเกตสิ่งแวดล้อมรอบตัว
        3. 2 ฝึกบันทึกให้ผู้เรียนสังเกตสิ่งต่างๆและจดบันทึกรายละเอียดที่สังเกตเห็น
        3. 3 ฝึกการนำเสนอต่อที่ประชุมเมื่อผู้เรียนได้ไปสังเกตหรือทำอะไรหรือเรียนรู้อะไรมาให้ฝึกนำเสนอเรื่องนั้นต่อที่ประชุม
               3. 4 ฝึกการฟังการฟังผู้อื่นช่วยให้ได้ความรู้มากผู้เรียนจึงควรได้รับการฝึกให้เป็นผู้ฟังที่ดี
               3. 5 ฝึกปุจฉา-วิสัชนาให้ผู้เรียนฝึกการถาม – การตอบซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความแจ่มแจ้งในเรื่องที่ศึกษารวมทั้งได้ฝึกการใช้เหตุผลการวิเคราะห์และการสังเคราะห์
               3. 6 ฝึกตั้งสมมติฐานและตั้งคำถามให้ผู้เรียนฝึกคิดและตั้งคำถามเพราะคำถามเป็นเครื่องสำคัญในการได้มาซึ่งความรู้ต่อไปจึงให้ผู้เรียนฝึกตั้งสมมติฐานและหาคำตอบ
               3. 7 ฝึกการค้นหาคำตอบเมื่อมีคำถามและสมมติฐานแล้วควรให้ผู้เรียนฝึกค้นหาคำตอบจากแหล่งต่างๆเช่นหนังสือตำราอินเตอร์เน็ตหรือไปสอบถามจากผู้รู้เป็นต้น
               3. 8 ฝึกการวิจัยการวิจัยเป็นกระบวนการหาคำตอบที่จะช่วยให้ผู้เรียนค้นพบความรู้ใหม่
               3. 9 ฝึกเชื่อมโยงบูรณาการบูรณาการให้เห็นความเป็นทั้งหมดและเห็นตัวเองเมื่อผู้เรียนเรียนรู้อะไรมาแล้วควรให้ผู้เรียนเชื่อมโยงให้เห็นความเป็นทั้งหมดและเกิดการรู้ตัวเองตามความเป็นจริงว่าสัมพันธ์กับความเป็นทั้งหมดอย่างไรอันจะทำให้เกิดมิติทางจริยธรรมขึ้นช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
             3. 10 ฝึกการเขียนเรียบเรียงทางวิชาการหลังจากที่ได้เรียนรู้เรื่องใดแล้วควรให้ผู้เรียนฝึกเรียบเรียงความรู้ที่ได้การเรียบเรียงจะช่วยให้ความคิดประณีตขึ้นทำให้ต้องค้นคว้าหาหลักฐานที่มาของความรู้ให้ถี่ถ้วนแม่นยำขึ้นการเรียบเรียงทางวิชาการเป็นวิธีการสำคัญในการพัฒนาปัญญาของตนและเป็นประโยชน์ในการเรียนรู้ของผู้อื่นในวงกว้างออกไป 

อ้างอิง  ประเวศ วะสี (2542)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น