8.5

การประเมินคุณภาพภายนอก

นั่นคือ สมศ. คำว่า   สมศ. ย่อมาจาก สำนักงานรับรองคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน)  จัดตั้งโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานฯ พ.ศ. 2543  โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาเกณฑ์ และวิธีการประเมินคุณภาพภายนอกและทำการประเมินผลการจัดการศึกษา 

หน้าที่ของ สมศ. คือ
  1. พัฒนาระบบการประเมินคุณภาพภายนอก
  2. พัฒนามาตรฐานและเกณฑ์สำหรับการประเมิน
  3. ให้การรับรองผู้ประเมินภายนอก
  4. กำกับดูแล กำหนดมาตรฐานและให้การรับรองมาตรฐานการประเมินคุณภาพภายนอก
  5. พัฒนาและฝึกอบรมผู้ประเมินภายนอก จัดทำหลักสูตรฝึกอบรมและสนับสนุนให้องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพหรือวิชาการเข้ามามีส่วนร่วม
  6. จัดทำรายงานการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาประจำปี เสนอต่อคณะรัฐมนตรี หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน
จุดเน้นของ สมศ.
  1. ภารกิจของสถาบันอุดมศึกษา
  2. การใช้งบประมาณที่คุ้มค่า
  3. โครงสร้างและกระบวนการ
  4. การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องและชุมชน
  5. ผลสัมฤทธิ์
การประเมินคุณภาพภายนอก คือการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา   การติดตาม     การตรวจสอบคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษา ซึ่งกระทำโดย สมศ. หรือผู้ประเมินภายนอกที่ได้รับการรับรองจาก สมศ. เพื่อมุ่งให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาให้ดียิ่งขึ้น 

หลักการสำคัญของการประเมินคุณภาพภายนอก
  1. เป็นการประเมินเพื่อมุ่งให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ไม่มุ่งเน้นเรื่อง การตัดสิน การจับผิดหรือการให้คุณให้โทษ
  2. ยึดหลักความเที่ยงตรง โปร่งใส มีหลักฐานข้อมูลตามสภาพความเป็นจริง และมีความรับผิดชอบตรวจสอบได้
  3. มุ่งสร้างความสมดุลระหว่างเสรีภาพทางการศึกษากับจุดมุ่งหมายหลัก และหลักการ ศึกษาของชาติ โดยให้มีเอกภาพเชิงนโยบาย แต่ยังคงมีความหลากหลายในทางปฏิบัติ โดยสถานศึกษาสามารถกำหนดเป้าหมายเฉพาะและพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เต็มตามศักยภาพของสถานศึกษาและผู้เรียน
  4. มุ่งเสริมและประสานงานในลักษณะกัลยาณมิตรมากกว่าการกำกับและควบคุม
  5. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการประเมินคุณภาพและพัฒนาการจัดการศึกษาจากทุกฝ่าย
วัตถุประสงค์ของการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษา
  1. เพื่อตรวจสอบยืนยันสภาพจริงในการดำเนินงานของสถานศึกษา และ ประเมินคุณภาพ       การศึกษา ตามมาตรฐานการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ ตามกรอบแนวทางและวิธีการที่ สมศ. กำหนด และสอดคล้องกับระบบประกันคุณภาพภายใน
  2. เพื่อให้ได้ข้อมูลซึ่งช่วยสะท้อนให้เห็นจุดแข็งจุดอ่อนของสถานศึกษา เงื่อนไขของความสำเร็จ และสาเหตุของปัญหา
  3. เพื่อช่วยเสนอแนะแนวทางปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษา
  4. เพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนาคุณภาพและประกันคุณภาพภายในอย่างต่อเนื่อง
  5. เพื่อรายงานผลการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน
แนวทางการประเมินคุณภาพภายนอก
  1. เรียนรู้ร่วมกัน
  2. ใช้เกณฑ์ของ สมศ.สถาบัน และเจ้าสังกัดของสถาบัน
  3. คำนึงเอกลักษณ์ของสถาบัน
  4. ใช้ฐานข้อมูล หลักฐาน ประกอบกับวิจารณญาน
  5. เน้นการปรับปรุง พัฒนางานของสถาบัน
  6. ประกันคุณภาพเพื่อความเป็นเลิศของสถาบันมากกว่าเพื่อการประเมิน
  7. คำนึงถึงมาตรฐานสากล
  8. สำนึกในความเป็นกัลยาณมิตร
ผู้ประเมินภายนอก หมายถึงบุคคลหรือหน่วยงานที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดและได้รับการรับรอง จากสมศ.ให้ทำการประเมินคุณภาพภายนอก 

ความแตกต่างของการประกันคุณภาพภายในกับการประเมินคุณภาพภายนอก 
การประกันคุณภาพภายใน เป็นกระบวนการบริหารที่สถานศึกษาต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ทั้งการวางแผน กำหนดเป้าหมาย และวิธีการทำ ลงมือตามแผน ประเมินผลและปรับปรุงแก้ไข เพื่อพัฒนาคุณภาพ และจัดทำรายงานการประเมินตนเองเป็นประจำทุกปี 

ส่วนการประเมินคุณภาพภายนอก เป็นการประเมินที่มีความต่อเนื่องกับการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษา เป็นการยืนยันผลการประเมินภายใน ว่าการจัดการศึกษามีคุณภาพอย่างไร เมื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐานที่กำหนด การประกันคุณภาพภายในกับการประเมินคุณภาพภายนอกจึงเชื่อมโยงกันด้วยมาตรฐานการศึกษาเป็นหลัก 

มาตรฐานการศึกษา คือข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะคุณภาพที่พึงประสงค์และเป็นเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง เพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริม กำกับดูแล ตรวจสอบประเมินผล และ การประกันคุณภาพการศึกษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น